ธุรกิจ OEM คืออะไร ? ก่อนเป็นเจ้าของแบรนด์ต้องรู้

Last updated: 26 ก.ค. 2566  |  3972 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ธุรกิจ OEM คืออะไร ? ก่อนเป็นเจ้าของแบรนด์ต้องรู้

OEM คืออะไร ?


OEM (Original Equipment Manufacturer) คือ โรงงานรับผลิตสินค้าให้กับผู้ที่ต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองหรือจะไม่สร้างแบรนด์ก็ได้ โดยจะผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งโรงงานรับผลิตสินค้าจะให้บริการที่ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของกระบวนการผลิตไปจนถึง เครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต ทำให้เจ้าของแบรนด์หรือผู้จ้างผลิต ประหยัดค่าใช้จ่าย และเกิดความเสี่ยงน้อยในขั้นตอนการผลิต

 

ข้อดีของ OEM

  • มีต้นทุนในการผลิตต่ำ
  • ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นไม่สูง
  • มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา
  • เป็นเจ้าของแบรนด์โดยไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง

 

ข้อเสียของ OEM

  • สินค้าอาจคล้ายคลึงกับแบรนด์อื่น ๆ ที่มีประเภทเดียวกัน
  • ผลิตสินค้าได้เฉพาะเจาะจง ตามเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรที่โรงงานมี

 

ODM คืออะไร ?


ODM (Original Design Manufactuere) คือ โรงงานรับผลิตและออกแบบสินค้า โดยจะเน้นการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าด้วยรูปแบบที่มีความแตกต่าง และโดดเด่น กว่าสินค้าตามท้องตลาดทั่วไป การผลิตประเภทนี้มีการคิดค้น วิจัย พัฒนาสูตรให้เฉพาะแบรนด์เจาะจงของลูกค้า

 

ข้อดีของ ODM

  • สินค้ามีความแตกต่างเป็นเอกลักษณ์ จดจำง่าย ไม่ซ้ำใคร
  • มีผู้เชี่ยวชาญ คิดค้น วิจัย พัฒนาสูตรให้ ลูกค้าไม่ต้องคิดเอง
  • เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการทำธุรกิจและอยากมีแบรนด์เป็นของตัวเอง

 

ข้อเสียของ ODM

  • มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตแบบ OEM และใช้ระยะเวลาการผลิตที่นานขึ้น

 

OBM คืออะไร ?



OBM (​​Original Brand Manufacturer) คือ โรงงานผลิตสินค้าเพื่อแบรนด์ตัวเอง มีการคิดค้น วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ ก่อนนำออกจำหน่าย สินค้ามีเอกลักษณ์ เฉพาะเจาะจงของแบรนด์ตัวเองเท่านั้น จะเน้นการผลิตและการขายในปริมาณมาก เหมาะสำหรับลูกค้าที่ต้องการนำไปขายต่อ 

 

ข้อดีของ OBM

  • ผลิตสินค้าออกมามีเอกลักษณ์ ไม่ซ้ำใคร
  • ควบคุมการผลิตและต้นทุนได้ด้วยตัวเอง
  • รักษาความลับการผลิตของแบรนด์ได้

 

ข้อเสียของ OBM

  • มีต้นทุนในการสร้างโรงงานการผลิตสูง

 

ความแตกต่างระหว่างโรงงาน OEM ODM OBM


ความแตกต่างของโรงงานผลิตแบบ OEM กับ ODM มีความแตกต่างกันที่โรงงานผลิตแบบ OEM จะรับผลิตสินค้าตามสูตรเพียงอย่างเดียว และสามารถผลิตได้รวดเร็ว ส่วนโรงงานผลิตแบบ ODM นอกจากจะรับผลิตสินค้าแล้ว ยังมีการพัฒนา ทดสอบ จนได้สูตรของสินค้าที่มีประสิทธิภาพไม่ซ้ำใคร และออกแบบสินค้าให้มีความโดดเด่น แตกต่างจากสินค้าในท้องตลาด สรุปความแตกต่างระหว่าง OEM กับ ODM ให้เข้าใจง่ายมากขึ้นในรูปแบบตาราง

 

OEM  โรงงานรับผลิตสินค้าตามสูตรการผลิตของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปติดแบรนด์ของตัวเอง ไม่ต้องมีความเสี่ยง


ODM  โรงงานรับผลิตสินค้าและออกแบบสินค้า โดยลูกค้าหรือโรงงานสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมกันได้ มีความเสี่ยงและลงทุนเพิ่มขึ้นกว่า OEM เพราะต้องทดลองและทดสอบผลิตภัณฑ์

OBM  โรงงานผลิตสินค้าในนามของแบรนด์ตัวเอง โดยบริษัททำการออกแบบสินค้าด้วยตัวเอง สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ทุกขั้นตอน มีต้นทุนต่ำ และควบคุมต้นทุนเองได้  และต้องลงทุนในการจัดตั้งโรงงานสูง

 

สิ่งที่ต้องรู้เมื่อต้องการทำโรงงาน OEM

 


  เลือกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทำแบรนด์


เลือกจากสิ่งที่ตัวเองชอบ สินค้าตามเทรนด์ สินค้าที่กำลังได้รับความนิยมเป็นกระแส และสามารถนำมาวางแผน และพัฒนาสินค้าที่ดีให้กับลูกค้า ทำการศึกษาค้นหา ข้อมูล ความคุ้มค่ากับการลงทุน

  กำหนดเป้าหมาย วางแผนการทำธุรกิจ


เมื่อได้เลือกสินค้าที่ชอบได้แล้วสิ่งที่ควรทำคือการวางแผนการทำธุรกิจ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดตลาด และงบประมาณ รวมถึงศึกษาธุรกิจที่มีสินค้าและผลิตภัณฑ์คล้ายคลึงกับ เพราะธุรกิจพวกนี้จะเป็นคู่แข่งเราในอนาคตได้ 

  หาแหล่งเงินทุน


การวางแผนธุรกิจจะช่วยให้คุณสามารถดำเนินการจัดสรรเงินทุนสำหรับธุรกิจได้อย่างปลอดภัย ไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้

  หาโรงงานที่รับผลิตสินค้า 


การเลือกโรงงานรับผลิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการดำเนินธุรกิจ ควรเลือกโรงงานรับผลิตที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย ได้รับมาตรฐานรับรองระดับสากล


  วางแผนกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการขาย 


วางแผนกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างรอบคอบ และได้ผลตอบรับกลับมาอย่างคุ้มค่า เช่น การประชาสัมพันธ์ การทำโฆษณา การจัดโปรโมชั่น เพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า สร้างการจดจำให้แบรนด์

 

สรุป OEM หรือ Original Equipment Manufacturer เป็นธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า ซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมากของผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างแบรนด์ของตัวเอง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ โดย ไม่ต้องจัดตั้งโรงงาน ไม่ต้องลงทุนเรื่องการทำวิจัย และพัฒนา เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ และ ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย สำหรับเจ้าของธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น อยากเป็นเจ้าของแบรนด์



Derma Health โรงงานผลิตอาหารเสริมแบบครบวงจร ควบคุมการผลิตโดยเภสัชกรและทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมโดยเฉพาะ รวมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตที่ทันสมัย ประสิทธิภาพสูง การันตีคุณภาพ และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ในทุกขั้นตอนการผลิต

สนใจเป็นเจ้าของแบรนด์ ปรึกษาฟรี! โทร : 064-289-9449

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้